2 มี.ค. 2560

สังคมผู้สูงอายุในโลกดิจิตอล 4.0

หารายได้อย่างไร ?ในวัยสูงอายุ 
"เพียงแค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยน งานแห่งเทคโนโลยีทางด้านไอที ที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนตามไปกาลเวลา"


การเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุพร้อมกับยุคของสังคมก้มหน้า ประเทศไทย 4.0
อีก 30 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20 ล้านคน หรือ 1 คน/ประชากร 4 คน ซึ่งถือว่าไทยจะมีอัตราส่วน ผู้สูงอายุต่อจำนวนประชากรมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
อัตราการเกิด... เด็กไทยเกิดน้อยลงเหลือ 8 แสนคนต่อปี ถ้าไม่ทำอะไร อีก 10 ปีข้างอัตราการเกิดจะเหลือ 0% เพราะคนยุคใหม่แต่งงานช้า ไม่นิยมมีลูก ปัจจุบันอัตราเจริญพันธุ์รวมของประเทศไทยอยู่ที่ 1.6 คือ 1 ครอบครัวเฉลี่ยมีลูก 1.6 คน ในปี 2564 ประชากรสูงอายุของไทย จะสูงถึงร้อยละ 20 ผลที่ตามมาคือผู้อยู่ในวัยแรงงานต้องรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่มากขึ้น
ทางรอดของสังคมผู้สูงอายุของไทย จึงขึ้นอยู่กับการพึ่งพาตัวเองทางเทคโนโลยีเท่านั้น จึงต้องมีโรงเรียนผู้สูงอายุ
ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุแบบ Real time


 จึงจะสื่อสารกับลูกหลานได้ จึงเกิดเป็นภารของสังคม รัฐจึงต้องเข้ามาดูแล เช่นเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกปี หากมองในด้านดี การที่ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอาจเป็นเรื่องดี แต่หากประชากรผู้สูงอายุไม่ได้เป็น "ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ" แล้ว ก็อาจเกิดปัญหาได้ การพัฒนาตนเองของผู้สูงอายุจึงน่าจะลดภารของสังคม ที่ควรทำ เรียกว่า การเปลี่ยนภารเป็นพลัง ร่วมกันสร้าง "ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้" การหารายได้จะมาจากไหน? ไม่ต้องรอเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุได้ไหม?
จากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้สูงอายุไทย มีรายได้ในวัยเกษียณ มากจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ รายได้จากการทำงาน, รายได้จากบำนาญ, จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, รายได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า, การใช้เงินออม และการเกื้อหนุนจากครอบครัว ไม่ว่าจะจากคู่สมรส บุตร ญาติ เป็นต้น


วิธีหารายได้ในวัยสูงอายุจะได้นำเสนอในบทความต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น